Loading...
รวมสมุนไพรไทย และ สรรพคุณสมุนไพร

สรรพคุณกระเจี๊ยบเขียว

สรรพคุณกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว ชื่อสามัญ Okra, Lady’s finger, Gombo, Gumbo, Bendee, Quimbamto แต่ในอินเดียจะเรียกกระเจี๊ยบเขียวว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะเรียกว่า บามี (Bamies)

กระเจี๊ยบเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

7 ประโยชน์ขั้นเทพของ “กระเจี๊ยบเขียว” ที่คุณอาจไม่รู้

 

กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ชื่อสามัญ Okra, Lady’s finger, Gombo, Gumbo, Bendee, Quimbamto แต่ในอินเดียจะเรียกกระเจี๊ยบเขียวว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะเรียกว่า บามี (Bamies)

กระเจี๊ยบเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

 

สมุนไพรกระเจี๊ยบเขียว ยังมีชื่อท้องถิ่นอีก เช่น กระต้าด (สมุทรปราการ), กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย ทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ มะเขือขื่น มะเขือมื่น (ภาคเหนือ), ถั่วเละ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น และสำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวกันมากที่สุดส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในภาคกลาง เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ราชบุรี ระยอง พิจิตร สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี

ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว

  • ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก ในประเทศซูดาน และสันนิษฐานว่าน่าจะมีการนำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 โดยจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุประมาณ 1 ปี มีความสูงประมาณ 0.5-2.4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีเขียว แต่บางครั้งก็มีจุดประม่วง ตามลำต้นจะมีขนอ่อนหยาบ ๆ ขึ้นปกคลุม เช่นเดียวกับใบและผล เจริญเติบโตได้ดีในอากาศกึ่งร้อน หรือที่อุณหภูมิระหว่าง 18-35 องศาเซลเซียส ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

ต้นกระเจี๊ยบเขียว

  • ใบกระเจี๊ยบเขียว มีใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือเรียงสลับกัน ใบมักเว้าเป็น 3 แฉก มีความกว้างประมาณ 10-30 เซนติเมตร ปลายใบหยักแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ใบมีขนหยาบ ก้านใบยาว

ใบกระเจี๊ยบเขียว